วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา  ตอน  ศึกกะหมังกุหนิง
     อิเหนา  เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ  เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา  ทั้งความไพเราะ  ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน  และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา  แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง  อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย
ผู้แต่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ลักษณะคำประพันธ์
กลอนบทละคร
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการแสดงละครใน
ความเป็นมา
อิเหนา  เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  มีที่มาจาก
นิทานปันหยี  ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียกวรรณคดีที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง
คือ  เรื่องอิหนา  ปันหยี  กรัต ปาตี วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเป็นพงศาวดาร
แต่งขึ้นเพื่อการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ
นักปกครอง  และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก
ชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ  เป็นผู้มีฤทธิ์  เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา
จนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
                                                  ว่าพลางทางชมคณานก                    โผนผกจับไม้อึงมี่
                                             เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
                                             นางนวลจับนางนวลนอน                         เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
                                             จากพรากจับจากจำนรรจา                       เหมือนจากนางสการะวาตี
                                             แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง                           เหมือนร้างท้องมาหยารัศมี
                                             นกแก้วจับแก้วพาที                               เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
                                             ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร                  เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
                                             เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา                          เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
                                        คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว                        เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
                                             ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง                        คะนึงนางพลางรีบโยธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น