วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

นิราศนรินทร์คำโคลง


นิราศนรินทร์คำโคลง


ความเป็นมา

นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา

๑.๑ ลักษณะของนิราศ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ

๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)



เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

ความเป็นมา

นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ



ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461 อ่านเพิ่มเติม

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา  ตอน  ศึกกะหมังกุหนิง
     อิเหนา  เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ  เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา  ทั้งความไพเราะ  ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน  และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา  แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง  อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย
ผู้แต่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ลักษณะคำประพันธ์
กลอนบทละคร
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการแสดงละครใน
ความเป็นมา
อิเหนา  เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  มีที่มาจาก
นิทานปันหยี  ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียกวรรณคดีที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง
คือ  เรื่องอิหนา  ปันหยี  กรัต ปาตี วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเป็นพงศาวดาร
แต่งขึ้นเพื่อการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ
นักปกครอง  และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก
ชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ  เป็นผู้มีฤทธิ์  เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา
จนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
                                                  ว่าพลางทางชมคณานก                    โผนผกจับไม้อึงมี่
                                             เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
                                             นางนวลจับนางนวลนอน                         เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
                                             จากพรากจับจากจำนรรจา                       เหมือนจากนางสการะวาตี
                                             แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง                           เหมือนร้างท้องมาหยารัศมี
                                             นกแก้วจับแก้วพาที                               เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
                                             ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร                  เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
                                             เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา                          เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
                                        คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว                        เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
                                             ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง                        คะนึงนางพลางรีบโยธี

คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ
        คำนมัสการคุณานุคุณ  ผลงานการประพันธ์ของ  พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)  มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  บิดามารดา  และครูอาจารย์  โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ลักษณะคำประพันธ์
อินทรวิเชียรฉันท์ 11 กาพย์ฉบัง 16
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อปลูกผังคุณธรรมและตระหนักถึงความกตัญญูกตเวที
ความเป็นมา
พระยาศรีสุนทรโวหารได้นำคาถาภาษาบาลีมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็น
บทร้อยกรอง  มีสัมผัสคล้องจอง  ง่ายต่อการท่องจำ
สามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ  หากเทียบกับการแปลเป็นความเรียงร้อยแก้วทั่วไป
และถ้าอ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะหรือสวดด้วยทำนองสรภัญญะ
จะยิ่งเพิ่มความไพเราะของถ้อยคำและความหมายที่จรรโลงจิตใจ
ให้ข้อคิดและคติธรรมเป็นอย่างมาก อ่านเพิ่มเติม